เป้าหมายของการเขียน Copywriting ของคุณคืออะไร?
ถ้าหากคุณมีเป้าหมายเดียวกับเรา คืองานเขียนที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ คุณก็มาถูกทางแล้ว เพราะเราเชื่อว่า Copywriting ที่ดี จะต้องสื่อสารออกมาให้ลูกค้าเข้าใจง่าย และตอบคำถามของปัญหาที่เขาพบเจอ มาดูกันว่า คุณจะสร้าง Copywriting ที่ดีให้กับแบรนด์ของคุณได้ยังไงกัน!
ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ‘งานชิ้นนี้จะช่วยแก้ปัญหาอะไร?’
จากคำแนะนำของ @katetoon ว่า ‘เมื่อพูดถึงผู้อ่าน เราคงต้องคิดให้รอบคอบถึงความต้องการ’ มากกว่า 97% ของผู้อ่านที่เข้ามาชมหน้าเว็บเพจ ต้องการคำตอบให้กับปัญหาที่เขาพบเจออยู่ ส่วนมากก็จะเป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน และนี่จึงควรเป็นสิ่งที่นักเขียนให้ความสำคญมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้งานเขียนน่าดึงดูด ถ้าหากอยากได้หัวข้อที่เข้าถึงผู้อ่านได้จริง นักเขียนก็ต้องทำการค้นคว้า ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO หรือหา Search Related
อีกหนึ่งคำแนะนำจาก Amy Harrison นักเขียนและผู้บริหารจาก Write With Influence บอกไว้ว่า งานเขียนที่ตอบปัญหาของลูกค้าได้จะต้องสื่อสารออกมาให้เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องมีเทคนิคมากมาย โดยวิธีง่าย ๆ คือ ลิสต์คำตอบจากคำถามเหล่านั้น จากนั้นเลือกคำตอบที่รู้สึกโดดเด่นมากที่สุด และพิสูจน์ว่าคำตอบนั้นเป็นความจริงหรือไม่
สิ่งที่ขายจะเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้อ่านอย่างไร?
ปัจจุบันเป็นยุคที่มีคอนเทนต์อยู่บนโซเชียลเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดสถานการณ์ของ ‘Content Tsunami’ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เสพคอนเทนต์เบื่อหน่าย กับหัวข้อซ้ำ ๆ การนำเสนอแบบเดิม ๆ และหนึ่งในสาเหตุเหล่านี้ก็มาจากคอนเทนต์ที่สร้างเกินความจริง หรือใช้คำเฉพาะจนมากเกินไป
เราควรโฟกัสที่องค์ประกอบของมนุษย์ เจาะจงไปในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกเป็นหลัก เพราะนักเขียนที่ดีจะเข้าใจว่า การตลาดที่มีอิทธิพล ไม่จำเป็นต้องตะโกน แต่ควรสื่อสารออกมาให้ง่าย และมีความน่าเชื่อถือ แทนที่จะบอกเป็นคำเดียว เปลี่ยนเป็นอธิบายว่าสินค้านั้นดียังไงแทน
ในบางครั้งนักเขียนหลายคนก็พลาดกับการโฟกัสที่ทฤษฎีจนมากเกินไป ใช้คำศัพท์เฉพาะที่ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นงานเขียนควรสะท้อนสู่ผู้อ่านตั้งแต่ประโยคแรก
@itsjulekim ได้ยกตัวอย่างโฆษณาที่คลาสสิกของ Apple เปลี่ยนจากนำเสนอความจุของ Ipod ด้วยคำเดียว เป็นอธิบายให้เห็นภาพแทน ‘Ipod สามารถจุเพลงได้มากกว่า 1,000 เพลง’
นักเขียนที่มีประสิทธิภาพจะสามารถเข้าถึงสัมผัสทั้ง 5 ของผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส กลิ่น ได้ยิน มองเห็น เพราะโฆษณาที่ดีจะต้องไปเพิ่มระดับ ‘โดพามีน’ ของผู้บริโภค เมื่อได้เห็นสินค้าหรืองานเขียนนั้น จะต้องทำให้ประสาทสัมผัสมีความหมายและเกิดความน่าพอใจเป็นอย่างมาก
Less is More
Marieke van de Rakt ผู้ก่อตั้ง Yoast เชื่อว่าหนึ่งในกฎสำคัญของนักเขียน คือ ‘Less is more’ บางครั้งอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ได้ดีเสมอไป โดยเฉพาะกับงานเขียนที่ไม่ได้เจาะจงแค่กลุ่มเป้าหมายเดียว จากแหล่งสำรวจที่บอกว่าคนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัดต่อปี หมายความว่าในระยะ 1 เดือนครึ่ง เราจะอ่านแค่ 1 บรรทัด และด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิต โดยเฉพาะกับโทรศัพท์ก็อาจจะทำให้เวลาเสพข่าว อ่านคอนเทนต์เป็นเรื่องยากสำหรับนักเขียนหลายคน เพราะหน้าจอที่เล็ก จึงต้องคอยเลื่อนขึ้น-ลง นักเขียนจะต้องมีวิธีเขียนให้กระชับ สั้น และได้ใจความ โดยไม่เสียความหมายของประโยคนั้นไป
ใช้คำให้เห็นภาพ
@shrutisonasharma เสนอว่า ‘ถ้าผู้บริโภคไม่เห็นภาพ เขาก็จะไม่ซื้อสินค้านั้น’ พยายามใช้คำที่ไม่คลุมเครือ เพราะผู้บริโภคจะซื้อสินค้านั้นก็ต่อเมื่อเขาอยากได้ ไม่ใช่เพราะสิ่งนั้นจำเป็นแต่อย่างเดียว ภาษาบรรยายถือว่ามีอิทธิพล และสามารถโน้มน้าวผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
ทำ Mind Map กับเรื่องที่จะเขียน
จากผู้เชี่ยวชาญด้านคอนเทนต์ Edwin Toonen ที่เขามักจะทำก่อนเริ่มเขียน เพราะสิ่งนี้จะช่วยก่อโครงสร้างที่ดี และปะติดปะต่อแต่ละส่วนให้เข้ากัน นอกจากนี้ การใช้ Mind Map จะทำให้เจอกับไอเดียใหม่ ๆ ได้เช่นกัน
เริ่มด้วยประโยคที่คนคุ้นเคย
คำแนะนำง่าย ๆ จาก Nils van der Knaap ‘ถ้าผู้อ่านไม่ชอบหัวข้อหรือคำนำ เขาก็จะไม่อยากอ่านต่อ’ หัวข้อจะต้องดึงดูดผู้อ่าน รวมถึงทำให้เขารู้ว่าเนื้อหานั้นกำลังเสนออะไรให้กับเขา โดยเริ่มจากการคิดเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อผู้อ่าน แต่ต้องไม่ใช่หัวข้อในเชิง Clickbait
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://bit.ly/3CAJbpr
.
‘อยากจะสร้าง Impact ให้กับผู้บริโภค ก็ต้องมี Copywriting ที่ดี
เลือกทำ Content Marketing กับ #Birthmark แล้วมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษา หรือ ขอข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 02-058-3599